วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558
แพทย์ชี้! มีผลวิจัยดื่มน้ำต้มใบทุเรียนเทศหายขาดโรคมะเร็ง
ใบทุเรียนเทศ ต้านและรักษาโรคมะเร็ง แต่..ต้องใช้ด้วยความรู้ความเข้าใจ
วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
การคูณธาตุ เพื่อใช้อาหารแทนยา
ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า
มีความสนใจในเรื่องสุขภาพของตนเองเพื่อไม่ให้เกิดโรค
ดีกว่าการรักษาเมื่อเกิดโรคแล้ว ทางเลือกหนึ่งของการดูแลสุขภาพตนเองนั้น
มาจากอาหารที่เรารับประทานกันนั่นเอง
การเลือกรับประทานอาหารที่ใครต่อใครว่าดีนั้นอาจจะไม่เหมาะสมหรือไม่ดีกับอีกคนก็ได้นะคะ
เพราะธาตุ (ดิน
น้ำ ลม ไฟ) ในตัวของแต่ละคนไม่เหมือนกันคะ ถ้าได้คูณธาตุ รู้ว่า คนใดมีธาตุใดปกติ
หรือกำเริบ หย่อน พิการ และเลือกกินอาหารเป็นยาตามความเหมาะสมของแต่ละธาตุที่ผิดปกติไปนั้น
จะได้ผลดีกว่า แต่หากว่าคูณธาตุไม่เป็น
ก็สามารถสังเกตได้จากอาการ หากว่า...
ธาตุดินผิดปกติ จะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันที่เกิดกับ ผม ขน เล็บ ฟัน
หนัง เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ลำไส้ใหญ่
ลำไส้เล็ก อาหารใหม่ อาหารเก่า(อุจจาระ) มันสมอง
ควร รับประทานอาหารรส ฝาด หวาน
มัน เค็ม ได้แก่ มังคุด ฝรั่งดิบ ฟักทอง เผือก ถั่วต่าง ๆ เงาะ น้ำนม น้ำอ้อย
เกลือ ฯลฯ
ธาตุน้ำผิดปกติ จะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันเกี่ยวกับ
น้ำดี น้ำเสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำปัสสาวะ
ควร รับประทานอาหารรสเปรี้ยว รสขม ได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ
มะระ สะเดา ฯลฯ
ธาตุลมผิดปกติ จะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับอารมณ์
จิตใจ การเต้นของหัวใจ ความหวั่นไหว ความกังวล (เรียกว่า หทัยวาตะ หรือลมที่หัวใจ)
หรือมีอาการเจ็บปวดลึก ๆ เหมือนดังอาวุธเสียบแทง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
หรือ อวัยวะใดขาดเลือดจะมีอาการเจ็บปวดรุนแรง (เรียกว่าสัตถกวาตะ หรือ
ลมเสียดแทงดังอาวุธ) หรือมีการทำงานของแขน ขา การปวดเจ็บหลัง การชัก การกระตุก
(เรียกว่า สุมนาวาตะ หรือ ลมในเส้นกลางตัว)
ควร รับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน หรือรสสุขุม ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย
พริกไทย โหระพา กะเพรา ฯลฯ
ธาตุไฟผิดปกติ จะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน
เกี่ยวกับปวดท้อง น้ำดีอุดตัน ตับอักเสบ เกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เคืองตา
ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เจ็บก้น เกิดถุงน้ำดีอักเสบเป็นนิ่ว หรือมีอาการจุกเสียด
อืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย (เรียกว่าดีในฝักพิการ
ถ้าดีนอกฝักพิการจะทำให้เหลืองทั้งตัว
ดีในฝักพิการจะมีอาการคุ้มคลั่งเหมือนผีเข้า ถ่ายเป็นสีเขียว หรือมีไข้)
ควร รับประทานอาหารรสขม รสเย็น และรสจืดได้แก่ ผักบุ้ง ตำลึง บวบ ฟักเขียว
หัวผักกาด มะระ แตงไทย แตงโม บัวบก ขี้เหล็ก แตง มันแกว ฯลฯ
เมื่อปรับธาตุให้สมดุลก็จะหายป่วยได้
ตามหลักการแพทย์แผนไทย กล่าวว่า
คนที่อายุเกินกว่า 32 ปี จัดอยู่ในวัยชรา หรือเรียกว่า ปัจฉิมวัย อวัยวะต่างๆ
เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็จะเริ่มเสื่อม เหงือกฟันก็ไม่ค่อยดี
การกินอาหารเคี้ยวไม่ละเอียดทำให้ธาตุลมกำเริบ เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
อาหารไม่ย่อย อาการเจ็บป่วยส่วนใหญ่จะเกิดจากธาตุลมเป็นเหตุ อาหารที่ควรรับประทาน
คือ อาหารอ่อน ย่อยง่าย มีรสเผ็ดร้อน หรือรสสุขุม (ไม่เผ็ดไม่ร้อนเกินไป) ได้แก่
ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย กระเทียม พริกไทย โหระพา กะเพรา ใบมะกรูด เป็นต้น
เป็นช่วยขับลม หรือกินยาหอม ยาธาตุจะเหมาะ และสิ่งสำคัญที่สุดคือ
ภายหลังรับประทานอาหารเสร็จไม่ควรดื่มน้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดนะคะ
เพราะจะทำให้ธาตุไฟที่จะช่วยย่อยอาหารหย่อนลง (น้ำย่อยเจือจางลง)
ควรพักให้อาหารได้คลุกเคล้ากับน้ำย่อยสักครู่ (15-30
นาที)แล้วค่อยดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำสะอาดธรรมดาๆ ก็จะช่วยให้สุขภาพของเราดี ไม่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ลมขึ้นง่าย
สำหรับการคูณธาตุ นั้น
ทำได้ไม่ยากเลย
โดย
คุณ นำ ธาตุหลักทั้ง 4 เป็นตัวตั้ง ได้แก่ ดิน 20 น้ำ 12 ลม 6 และไฟ 4
บวกด้วยอายุของคนที่ต้องการคำนวณ
(ถ้าอายุเกิน 6 เดือนไปแล้วต้องปัดให้เป็น 1 ปีนะคะ) จากนั้นนำ ค่าที่ได้ตั้ง
หารด้วย 7 เศษที่ได้เป็นเท่าไหร่ นำมาแปลผล
เศษ 0
|
= ธาตุพิการ (ผิดปกติ)
|
เศษ 1-3
|
= ธาตุหย่อน (น้อยไป)
|
เศษ 4-5
|
= ธาตุปกติ
|
เศษ 6
|
= ธาตุกำเริบ (มากไป)
|
สมมติว่า
คุณอายุ 45 ปี ต้องการทราบว่าธาตุใดปกติ กำเริบ หย่อน พิการ คำนวณได้ดังนี้
ดิน
|
น้ำ
|
ลม
|
ไฟ
|
|
ธาตุ
|
20
|
12
|
6
|
4
|
บวกด้วยอายุ
|
45
|
45
|
45
|
45
|
ผลลัพธ์
|
65
|
57
|
51
|
49
|
หารด้วย 7 เหลือเศษ
|
2
|
1
|
2
|
0
|
จากเศษที่ได้รับนำมาแปลผล
คือคุณมีธาตุดิน น้ำ และลม หย่อน มีธาตุไฟพิการ อาหารที่คุณควรรับประทาน คืออาหารที่เพิ่มธาตุดิน
ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ (อาหารไทยและอาหารพื้นบ้านที่เพิ่มธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ได้เป็นอย่างดี ได้แก่
เมี่ยงคำ แกงเลียง แกงส้ม อ่อม น้ำพริก แจ่ว ป่น พร้อมผักจิ้มนานาชนิด
ยำรวมมิตรผักพื้นบ้าน หรือนึ่งปลาพร้อมผักหลาย ๆ อย่าง เป็นต้น โดยเฉพาะผักพื้นบ้านตามฤดูกาลดีที่สุด
เพราะ นอกจากไม่มีสารฆ่าแมลงแล้วยังช่วยปรับธาตุในแต่ละฤดูกาล
ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่แตกต่างกันไปในตัว)
จากการคำนวณถ้าธาตุใดมากไป (กำเริบ) ก็ลดอาหารที่มีธาตุนั้นๆ ถ้าธาตุใดหย่อน (น้อยไป) ก็เพิ่มอาหารที่มีธาตุนั้น ๆ เช่น ธาตุไฟสูง (กำเริบ) ทำให้มีไข้หรืออารมณ์ร้อน ก็แก้ด้วยอาหารหรือสมุนไพรที่มีรสขม รสเย็น
หรือรสจืด เช่น มะระ สะเดา บวบ ฟักเขียว ตำลึง ผักกาด แตง แตงโม แตงไทย ฯลฯ
หรือธาตุไฟหย่อนก็เพิ่มอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน หรือรสสุขุม เช่น พริกไทยขิง ข่า
ตะไคร้ หอม กระเทียม เป็นต้น จะช่วยเพิ่มธาตุไฟ ทำให้การขับผายลมดี
เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก สุขภาพก็จะดีขึ้น
และมีผิวพรรณดีได้อีกด้วย
วิธีการคูณธาตุของแพทย์แผนโบราณ
วิธีการคูณธาตุของแพทย์แผนโบราณ
วิธีการคูณธาตุของแพทย์แผนโบราณ “หมอชาวบ้าน “ ฉบับที่ 40 ได้ลงเรื่องยาประจำธาตุเพื่อปรุงให้คนกินปรับปรุงธาตุในร่างกายให้เป็นปกติ ธาตุในร่างกายแข็งแรง ระบบต่างๆในร่างกายจะสมบูรณ์ขึ้น พร้อมกับได้กล่าวถึงตัวยาประจำธาตุมี 4 อย่างคือ 1. ดอกดีปลี ประจำ ธาตุดิน 2.รากชะพลู ประจำ ธาตุน้ำ 3.เถาสะค้าน ประจำ ธาตุลม 4.รากเจตมูลเพลิง ประจำ ธาตุไฟ 5.เหง้าขิงแห้ง ประจำ อากาศธาตุ ได้มีผู้อ่านสนใจถามว่า วิธีการคูณธาตุของแพทย์แผนโบราณ เป็นอย่างไร และใช้เมื่อไหร่ ผู้เขียนจึงอธิบายให้ทราบดังนี้ การคูณธาตุนั้น คูณเพื่อทำยาธาตุ ที่ใช้ในการรักษาโรคเรื้อรังต่างๆที่ไม่ใช่โรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรง เป็นโรคที่จับต้นชนปลายไม่ถูก ชนิดที่เรียกว่า อาการ32 แปรปรวนไปหมด ทางแพทย์แผนโบราณก็ให้คูณธาตุกินก่อน หรือให้กินควบคู่ไปกับยารักษาโรคอื่นๆก็ได้ มีคนป่วยบางคนท้องขึ้นเป็นประจำ และบางคนท้องเสียไม่รู้จักหายเพียงกินยาคูณธาตุนี้อย่างเดียวก็หายเป็นปกติได้ จึงนับได้ว่ามีประโยชน์ วิธียาคูณธาตุนี้ มีมายมายหลายวิธีด้วยกัน แต่ต้องใช้ตัวยามากเป็นการหมดเปลืองโดยไม่จำเป็น ที่จะกล่าวนี้เป็นวิธีง่ายๆและสะดวกทั้งตัวยาก็ไม่มากไม่น้อยเกินกว่าวิธีอื่น และราคาก็ไม่แพง เป็นการประหยัดไปในตัว การคูณธาตุ ให้ถามคนไข้ว่าเกิดวันที่หรือแรมกี่ค่ำ เดือนอะไร ปีอะไร สมมุติ เกิดวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2475 วันที่หมอถามคนไข้เป็นวันที่ 1 มกราคม 2526 และคนทั่วไปนับถึงอายุปัจจุบันจะเป็น 51 ปี ( คือจาก 2547 -2526 ) ส่วนโหรคิดเต็มเดือนและเต็มปีดังนี้ 1 มิถุนายน 2475 เทียบเป็นไทยก็แรม 13 ค่ำ เดือน 6 ปี วอก ( พ.ศ. 2475 ) เมื่อนับแรม 13 ค่ำเดือน 6 ปีวอก ( พ.ศ. 2475 ) ถึง แรม 13 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ( พ.ศ. 2525 )จะได้ระยะห่าง 49 ปีเต็ม สมมุติว่าวันที่ 1 มกราคม 2526 (วันที่ถามคนไข้ ) เทียบเป็นไทยก็ได้ แรม 3 ค่ำเดือน 3 ปีกุล ( พ.ศ. 2526 ) เมื่อนับแรม 13 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ( พ.ศ.2525 ) ถึงแรม 3 ค่ำ เดือน 2 ปีกุน ( พ.ศ. 2526 ) จะได้ระยะห่างเวลาประมาณ 8 เดือน คิดเป็นไทยก็จะได้ 48 ปี 8 เดือน จัดได้ว่าอายุ 50 ปี วิธีคูณธาตุ ท่านให้ตั้งอายุปีปัจจุบัน คือ 50 ปี เอา 5 ( กองธาตุ 5 กอง ) คูณอายุ เท่ากับ 50 คูณ 5 ได้ 250 หลังจากนั้นก็ต้องมาทราบว่าธาตุแต่ละธาตุมีกำลังประจำธาตุดังนี้ ดิน 20 , น้ำ 12 , ลม 6 , ไฟ 4 , อากาศ 10 ให้เอากำลังประจำธาตุดิน ( 20 ) บวกกับผลลัพท์อายุที่คูณด้วยกองธาตุ ( 250 ) จะได้ธาตุดิน 20 บวก 250 ได้ 270 สำหรับธาตุน้ำ ลม ไฟ อากาศ ให้เอาผลลัพท์จากธาตุดิน ( 270 ) บวกกับธาตุในแต่ละธาตุ ธาตุน้ำ 12 บวก 270 ได้ 282 ธาตุลม 6 บวก 270 ได้ 276 ธาตุไฟ 4 บวก 270 ได้ 274 อากาศธาตุ 10 บวก 270 ได้ 280 ให้เอา 4 หารผลลัพท์ที่ได้ในแต่ละธาตุ ธาตุดิน 270 หาร 4 ได้ 67 เศษ 2 ธาตุน้ำ 282 หาร 4 ได้ 70 เศษ 2 ธาตุลม 276 หาร 4 ได้ 69 เศษ 0 ธาตุไฟ 274 หาร 4 ได้ 68 เศษ 2 อากาศธาตุ 280 หาร 4 ได้ 70 เศษ 0 แต่ละธาตุให้เอาเศษไว้ ตัดส่วนทิ้งไป ธาตุดิน 2 ธาตุน้ำ 2 ธาตุลม 0 ธาตุไฟ 2 อากาศธาตุ 0 ธาตุทุกธาตุให้ตั้งเกณฑ์ไว้ต้องครบ 8 สลึงของตัวยา เศษของธาตุที่ได้ถือหน่วยเป็นสลึง ดังนั้นเมื่อเติมธาตุให้ครบเกณฑ์ก็จะได้ ธาตุดิน 2 เพิ่มอีก 6 ได้ครบเกณฑ์ 8 ธาตุน้ำ 2 เพิ่มอีก 6 ได้ครบเกณฑ์ 8 ธาตุลม 0 เพิ่มอีก 8 ได้ครบเกณฑ์ 8 ธาตุไฟ 2 เพิ่มอีก 6 ได้ครบเกณฑ์ 8 อากาศธาตุ 0 เพิ่มอีก 8 ได้ครบเกณฑ์ 8 จะได้ตัวยาที่จะนำไปกินดังนี้ ธาตุดิน. ดอกดีปลี 6 สลึง ธาตุน้ำ รากชะพลู 6 สลึง ธาตุลม เถาสะค้าน 8 สลึง ธาตุไฟ รากเจตมูลเพลิง 6 สลึง อากาศธาตุ เหง้าขิงแห้ง 8 สลึง วิธีทำ เอายาทั้ง 5 รวมกันต้ม ครั้งแรกใส่น้ำท่วมยาเคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่งแล้วเทเอาน้ำขึ้น ใส่น้ำเท่าครั้งแรก ต้มเคี่ยวต่อครั้งที่ 2 ให้น้ำเหลือครึ่งหนึ่งแล้วรินน้ำรวมกับที่ต้มครั้งแรก ครั้งที่สาม ต้มให้งวดเกือบแห้ง แล้วก็รินน้ำมารวมต้มกับครั้งที่ หนึ่ง และสอง เอากากยาทิ้ง แล้วเอาน้ำมากินหรือถ้ากินร่วมกับยาอื่นก็เอาไปดองรวมกัน วิธีกิน กินเพียงวันละ 1 ครั้งเท่านั้น เช่น ตอนบ่าย 3 โมงหรือสามทุ่ม หรือจะเอาเวลาไหนก็ได้ แต่ต้องกินเวลาเดียวกันทุกวัน ครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะหรือหนึ่งถ้วยชาในการรักษา ในการรักษาโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มิใช่โรคติดต่อหรือโรคร้ายแรงต่างๆ หารคูณธาตุเป็นการปรับปรุงกองธาตุให้เสมอกัน ไม่ต้องเติมตัวยาอะไรอีกทั้งสิ้น คูณธาตุได้อย่างไรจำนวน 5 อย่างก็เอาเท่านั้น ถ้าธาตุกำเริบหย่อนพิการ ใช้ตัวยา 5 อย่างก็พอ.
อ้างอิง : หมอชาวบ้าน
ตัวอย่างการคูณธานของแพทย์แผนไทย
วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
น้ำย่านาง สูตรหมอเขียว ฟื้นฟูสุขภาพต้านโรคมากมาย
น้ำย่านาง สรรพคุณสูง
การทำน้ำใบย่านางสูตรหมอเขียว
ใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ
มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดการเกิดริ้วรอย
มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดการเกิดริ้วรอย
และความแก่ชรา ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านโรคในร่างกายให้แข็งแรง
ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่างๆในร่างกาย
ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก
หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ ก้อนมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
ช่วยในการบำรุงรักษาตับ และไต
ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์
ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกาย แม่นอนพักก็ไม่หาย
ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อยๆ
ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อตหรือมีเข็มแทงหรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำๆสีน้ำตาลตามร่างกาย
ช่วยรักษาเนื้องอก
ช่วยรักษาอการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนได้
ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูกและเสมหะ
รากแห้งใช้ในการแก้ไข้ทุกชนิด และลดความร้อนในร่างกาย
รากของย่านางสามารถแก้ไข้ได้ทุกชนิด ทั้ง ไข้พิษ ไข้หัด
ไข้เหนือ ไข้ผิดสำแดง เป็นต้น
เถาย่านางมีส่วนช่วยในการลดความร้อนและแก้พิษตานซาง
มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
มีส่วนช่วยช่วยอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดชาบริเวณต่างๆ
ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
รากของย่านางช่วยแก้อาการเบื่อเมา
ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
ช่วยแก้อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร
ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
ช่วยในการบำรุงสายตาและรักษาโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง
ตาแห้ง ตามัว แสบตา ปวดตา ตาลาย เป็นต้น
ช่วยรักษาอาการปากคอแห้ง ริมฝีปากแตกหรือลอกเป็นขุย
ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียว
หรืออาการเสมหะพันคอ
ช่วยบำบัดอาการของโรคไซนัสอักเสบ
ช่วยลดอาการนอนกรน
ช่วยแก้อาการเจ็บปลายลิ้น
ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจ
ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
ช่วยรักษาอาการท้องเสีย เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุได้
ช่วยบรรเทาอาการอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน
ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดอาการแสบท้อง
ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน
ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี
ช่วยรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
ช่วยแก้อาการปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะบ่อย
หรือมีอาการปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือดได้
ช่วยบำบัดรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
ช่วยป้องกันโรคไส้เลื่อน
ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
ช่วยรักษาอาการตกขาว
ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์
ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
น้ำย่านางเมื่อนำมาผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากผสมจนเหลว
สามารถนำมาทา สิว ฝ้า ตุ่มคัน ตุ่มใส ผื่นคัน พอกฝีหนองได้อีกด้วย
ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าผุ โดยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น
ผุ ฉีกง่าย หรือในเล็บมีสีน้ำตาลดำคล้ำ อาการอักเสบที่โคนเล็บ
สำหรับประโยชน์ของใบย่านางด้านอื่นๆ เช่น การนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ยกตัวอย่าง ใบย่านางแคปซูล สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร แชมพูสระผมจากใบย่านาง ช่วยให้ผมดกดำ ชะลอการเกิดผมหงอก
ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่างๆในร่างกาย
ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก
หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ ก้อนมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
ช่วยในการบำรุงรักษาตับ และไต
ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์
ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกาย แม่นอนพักก็ไม่หาย
ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อยๆ
ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อตหรือมีเข็มแทงหรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำๆสีน้ำตาลตามร่างกาย
ช่วยรักษาเนื้องอก
ช่วยรักษาอการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนได้
ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูกและเสมหะ
รากแห้งใช้ในการแก้ไข้ทุกชนิด และลดความร้อนในร่างกาย
รากของย่านางสามารถแก้ไข้ได้ทุกชนิด ทั้ง ไข้พิษ ไข้หัด
ไข้เหนือ ไข้ผิดสำแดง เป็นต้น
เถาย่านางมีส่วนช่วยในการลดความร้อนและแก้พิษตานซาง
มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
มีส่วนช่วยช่วยอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดชาบริเวณต่างๆ
ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
รากของย่านางช่วยแก้อาการเบื่อเมา
ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
ช่วยแก้อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร
ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
ช่วยในการบำรุงสายตาและรักษาโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง
ตาแห้ง ตามัว แสบตา ปวดตา ตาลาย เป็นต้น
ช่วยรักษาอาการปากคอแห้ง ริมฝีปากแตกหรือลอกเป็นขุย
ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียว
หรืออาการเสมหะพันคอ
ช่วยบำบัดอาการของโรคไซนัสอักเสบ
ช่วยลดอาการนอนกรน
ช่วยแก้อาการเจ็บปลายลิ้น
ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจ
ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
ช่วยรักษาอาการท้องเสีย เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุได้
ช่วยบรรเทาอาการอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน
ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดอาการแสบท้อง
ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน
ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี
ช่วยรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
ช่วยแก้อาการปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะบ่อย
หรือมีอาการปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือดได้
ช่วยบำบัดรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
ช่วยป้องกันโรคไส้เลื่อน
ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
ช่วยรักษาอาการตกขาว
ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์
ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
น้ำย่านางเมื่อนำมาผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากผสมจนเหลว
สามารถนำมาทา สิว ฝ้า ตุ่มคัน ตุ่มใส ผื่นคัน พอกฝีหนองได้อีกด้วย
ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าผุ โดยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น
ผุ ฉีกง่าย หรือในเล็บมีสีน้ำตาลดำคล้ำ อาการอักเสบที่โคนเล็บ
สำหรับประโยชน์ของใบย่านางด้านอื่นๆ เช่น การนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ยกตัวอย่าง ใบย่านางแคปซูล สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร แชมพูสระผมจากใบย่านาง ช่วยให้ผมดกดำ ชะลอการเกิดผมหงอก
การทำน้ำใบย่านาง ให้เตรียม อุปกรณ์ ดังนี้
1.เครื่องปั่นน้ำผลไม้
2.กระชอนตาถี่ หรือผ้าขาวบาง
3.กรวยเล็ก
เตรียมวัสดุ ดังนี้
1.ใบย่านาง ประมาณ 20 ใบ
1.ใบย่านาง ประมาณ 20 ใบ
2. ใบเตย 3 ใบ
3. ใบบัวบก 1 กำมือ
4. หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น
5. ใบอ่อนเบญจรงค์ 1 กำมือ
6. ใบเสลดพังพอน 1 กำมือ
7. ว่านกาบหอย 5 ใบ
8. ใบว่านฮ๊อก 5-10 ใบ
หมายเหตุ หากหาไม่ได้ทั้งหมดก็ไม่เป็นไรเอาเท่าที่หาได้ แต่จะขาดใบย่านางไม่ได้หรืออย่างอื่นหาไม่ได้จริงๆ จะแค่ใบย่านางอย่างเดียวก็ได้)
วิธีทำ
1.นำสมุนไพรทั้งหมดมาจัดการความสะอาด ก่อน เพราะของคุณจะกินเข้าไปไม่สะอาดอย่างไร
2.นำใบสมุนไพรที่คิดว่าล้างสะอาดแล้ว มาตัด มาหั่นให้มัน เป็นชิ้นเล็กสักหน่อย
เพื่อนำใบไปโขลก หรือนำไปปั่นมันจะไม่แกะกะ
เพื่อนำใบไปโขลก หรือนำไปปั่นมันจะไม่แกะกะ
3.ในที่นี้ จะบอกวิธีปั่นอย่างเดียว (วิธีตำน่าจะไม่ต้องบอกลามั้ง )
การปั่น
3.1 .ใส่สมุนไพรลงไป ใส่น้ำสะอาด(ไม่ใช้น้ำประปา)ประมาณ สามในสี่ส่วนของสมุนไพร
3.2 ฝึกนับ 1-2-3-4-5 รวมแล้วประมาณ 5 วินาที ต่อไปกดสวิสต์ปั่น นับ 12345 แล้วหยุด แล้วปั่นใหม่ นับ 12345 แล้วหยุด ทำแบบนี้จนกว่าจะละเอียด
4.เมื่อละเอียดแล้ว เอามากรอง จะเห็นว่าน้ำที่เราปั่นมานะมันข้น กินแบบนี้ไม่ได้ ก็ให้เราผสมน้ำลงไปให้ดูพอดี แค่ไหนพอดี ก็ลองผสมแล้วดื่มดู พอดีนี่คือดื่มแบบรู้สึกว่าสบายๆ ไม่ฝื่น ไม่เหม็นเขียว ประมาณนั้น จะผสมน้ำก่อนกรอกใส่ขวด หรือกรอกใส่ขวดก่อน แล้วค่อยผสมตอนดื่มก็ได้ แต่ถ้าผสมก่อนดีอย่างหนึ่งคือ อัตราส่วนความเจือจางมันจะเท่ากัน แต่ข้อเสียคือหลายขวด เก็บในตู้เย็นไม่ค่อยพอ
ถ้าใสขวดแล้วค่อยผสมตอนจะดื่มเนี่ย มันใส่ขวดน้อยขวด ไม่รกตู้เย็น แต่ถ้านำมาผสมทีละแก้วก่อนดื่ม มันจะมีความเข้มข้นไม่แน่นอน แต่ถ้าทำบ่อยๆ ก็ชำนาญเอง ผมบอกข้อดี ขอเสียแค่นั้นเอง แต่ผมผสมตอนดื่มเหมือนกัน เพราะหลายขวดรกตู้เย็น
5.เอากระบวย แยงปากขวดเข้า( หรือคิดว่าแน่ก็ไม่ต้องใช้กระบวย ถึงตอนนี้ จะสังเกตุเห็นว่า มันมีฟองอยู่ ค่อยๆ ช้อนฟองทิ้งซะ หรือชอบก็ไม่ต้องทิ้ง ตอนใส่ขวดนี่นะพอใกล้เต็มขวดมันจะมีฟองอยู่ที่ปากขวด ให้ใส่ให้เต็มฟองมันจะล้นออกมาเองแล้วปิดฝา ล้างภายนอกขวดให้สะอาด ยัดใส่ตู้เย็นช่องธรรมดา
สำหรับบางคนที่รู้สึกว่ากินยาก เหม็นเขียว กินแล้วรู้ไม่สบายก็สามารถผสมน้ำย่านาง
ให้เจอจาง หรือจะผสม กับน้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล หรือแม้แต่น้ำเฮลล์บลูบอยก็ไม่ทำให้คุณภาพเสียไป
ดื่มตอนไหน
ควรดื่มน้ำย่านางสดๆ ก่อนอาหารหรือตอนท่องว่าง หรือจะดื่มแทนน้ำก็ได้เมื่อรู้สึกกระหายน้ำ
ควรดื่มน้ำย่านางสดๆ ก่อนอาหารหรือตอนท่องว่าง หรือจะดื่มแทนน้ำก็ได้เมื่อรู้สึกกระหายน้ำ
ขนาดดื่ม
ประมาณหนึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง ต่อวันควรดื่มแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้
ผะอืดผะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไปให้น้อยลงอีกจนเหมาะสม
ประมาณหนึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง ต่อวันควรดื่มแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้
ผะอืดผะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไปให้น้อยลงอีกจนเหมาะสม
ข้อห้าม
ห้ามดื่มหลังทานอาหาร ถ้าจะดื่มให้หลังจากทานอาหารแล้ว 2 ชั่วโมง สาเหตุเพราะมันจะไปทำให้ระบบย่อยอาหารหยุดทำงาน จะมีผลเสียมากกว่าผลดี การดื่มน้ำตามหลังทานอาหาร ถึงแม้น้ำเปล่าก็ไม่ควรดื่ม จะมีผลเช่นเดียวกัน ถ้าจำเป็นต้องดื่มควรเป็นน้ำอุ่น เล็กน้อย
ย่านาง เป็นพืชสมุนไพร ที่ใช้เป็นอาหาร และ เป็นยามาตั้งแต่โบราณ
หมอยาโบราณอีสานเรียกชื่อทางยาของย่านางว่า "หมื่นปี บ่ เฒ่า"
แปลเป็นภาษาภาคกลางว่า " หมื่นปีไม่แก่ "
ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้ใบย่านางแก้ไขปัญหาสุขภาพ
จนมีผลให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเบาบางลง
- เนื้องอกในมดลูก มดลูกโต ตกเลือด ตกขาว ปวดตามร่ายกาย
- มะเร็งปอด
- มะเร็งตับ
- มะเร็งมดลูก
- โรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื้องอกในเต้านม
- เบาหวานและความดันโลหิตสูง
- ขับสารพิษ
- ภูมิแพ้ ไอ จาม
- เริ่ม งูสวัด
- ตุ่มผื่นคันที่แขน
- อาการปวดแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
- นอนกรน ไตอักเสบ
- อาการปวดขาที่แขน
- เล็บมือผุ
- เก๊าต์
หมอยาโบราณอีสานเรียกชื่อทางยาของย่านางว่า "หมื่นปี บ่ เฒ่า"
แปลเป็นภาษาภาคกลางว่า " หมื่นปีไม่แก่ "
ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้ใบย่านางแก้ไขปัญหาสุขภาพ
จนมีผลให้อาการเจ็บป่วยทุเลาเบาบางลง
- เนื้องอกในมดลูก มดลูกโต ตกเลือด ตกขาว ปวดตามร่ายกาย
- มะเร็งปอด
- มะเร็งตับ
- มะเร็งมดลูก
- โรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เนื้องอกในเต้านม
- เบาหวานและความดันโลหิตสูง
- ขับสารพิษ
- ภูมิแพ้ ไอ จาม
- เริ่ม งูสวัด
- ตุ่มผื่นคันที่แขน
- อาการปวดแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
- นอนกรน ไตอักเสบ
- อาการปวดขาที่แขน
- เล็บมือผุ
- เก๊าต์
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)